Menu

เมนูอาหาร

เมนูสาขา รพ.จุฬา (ครัวชั่วคราว-นางลิ้นจี่)
และมหิดล ศาลายา

Menu book for the Chula Hospital branch (Temporary Cookery - Nanglingee)
and Mahidol Salaya branch

ระบบภูมิคุ้มกัน สำคัญกับร่างกายของเราอย่างไร ?

การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์เช่นนี้ นอกจากการดูแลสุขอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ ใช้แอลกอฮอลเจล หรือหลีกเลี่ยงการเดินทางในที่ที่แออัดต่างๆแล้ว การดูแลเรื่องอาหารก็เป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์เช่นนี้ นอกจากการดูแลสุขอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ ใช้แอลกอฮอลเจล หรือหลีกเลี่ยงการเดินทางในที่ที่แออัดต่างๆแล้วการดูแลเรื่องอาหารก็เป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

การทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน หรือสารอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะมีผลทำให้ช่วยส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันได้ค่ะ มารู้จักกับอาหารเสริมภูมิให้ดียิ่งขึ้นกัน

⭐️ สารอาหารและสารพฤกษเคมีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ⭐️

➔ โปรตีน

– ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ เป็นไปตามปกติ

– นำไปใช้สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

– มีส่วนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

➔ วิตามินซี

– ช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย

– มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ

– พบในผัก ผลไม้ แหล่งที่มีวิตามินสูง เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ส้มโอ มะระขี้นก คะน้า พริกหวานแดง มะเขือเทศ นอกจากจะควบคุมแคลเซียมและฟอสเฟสแล้ว ยังมีส่วนในการดูแลระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

➔ วิตามินดี

-มีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น

-มีรายงานว่าผู้ที่มีรัดับวิตามินดีในเลือดต่ำมีโอกาสติดเชื้อง่าย

โดยวิตามินส่วนใหญ่ 80% เราจะได้รับจากแสงแดด อีกส่วนที่เหลือมาจากอาหาร

การทานวิตามินดี ร่วมกับการทานอาหารที่เป็นแหล่งไขมัน จะช่วยการดูดซึม(เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน)

ในอาหาร Plant Based จะพบได้ในเห็ดหอมสด และพบมากในเห็ดหอมแห้งที่ตากแดด นม หรือ โยเกิร์ตที่เสริมวิตามินดี

➔ วิตามินอี

มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำงานกับวิตามินซีในการต้านอนุมูลอิสระ

พบในน้ำมันพืชชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน ถั่วลิสง

➔ ซิลิเนียม

– เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

– ทำงานร่วมกับวิตามินซีและอีในการต้านอนุมูลอิสระ

– พบมากในถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ อย่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียวหรือจะเป็น งาขาว งาดำ

➔ สังกะสี

– เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน

– สังกะสีที่มาจากแหล่งพืช จะมีตัวขัดขวางการดูดซึม(ไฟเตท) การนำไปเพาะงอกแช่น้ำ หมัก หรือผ่านความร้อนจะช่วยลดไฟเตทได้ พบในธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ

ตัวอย่างแหล่งอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอื่นๆ

ผักผลไม้หลากหลายสี

ผักแต่ละสีมีสารพฤกษเคมีที่แตกต่างกัน ซึ่งสารพฤษเคมีเหล่านี้จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย เช่น เบต้าแคโรทีน พบมากในผักสีส้ม เหลืองอย่างแครอท แอนโทไซยานิน พบมากในผักผลไม้สีแดง ม่วงอย่างตระกูลเบอร์รี่ มะเขือม่วง ข้าวไรซ์เบอร์รี่

ผลไม้แหล่งวิตามินซี

เป็นแหล่งของวิตามินซีที่ดี เนื่องจากวิตามินซีสามารถที่จะช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนหนึ่งในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ

เมล็ดทานตะวัน หรือ ถั่วเปลือกแข็ง

เช่น อัลมอนด์ ที่มีวิตามินอีสูง ที่ช่วยรักษาระบบภูมิคุ้มกันและช่วยต้านอนุมูลอิสระ

️ พริกหยวก

เป็นอีกแหล่งที่วิตามินซีสูง ไม่แพ้ผลไม้อื่นๆ และที่สำคัญยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ เบต้าแคโรทีน ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ช่วยบำรุงผิวและดวงตาให้มีสุขภาพดี

เป็นผักที่มีวิตามินหลากชนิด ทั้ง A,C และ E ล้วนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี และยังมีใยอาหารสูง

มีสารเบต้ากลูแคน และวิตามินดี ที่มีความสามารถในการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย