อายุยืนด้วยภูมิคุ้มกัน

เมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้น โดยธรรมชาติของร่างกายแล้ว มักจะพบว่ามีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการอักเสบเรื้องรังภายในร่างกายเพิ่มขึ้น หรือ การสร้าง T-cells ที่น้อยลง ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง

เมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้น โดยธรรมชาติของร่างกายแล้ว มักจะพบว่ามีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการอักเสบเรื้องรังภายในร่างกายเพิ่มขึ้น หรือ การสร้าง T-cells ที่น้อยลง ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง ซึ่งภาวะที่ร่างกายอ่อนแอลงตามอายุ หรือ “Biological age” ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่กำหนด อายุขัย หรือ ลักษณะแสดงทางร่างกายจะออกมาเป็นเช่นไร หรือ แม้แต่ความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ นอกจานี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะแข็งแรงหรืออ่อนแอนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น  หรือ คือภาวะที่มีอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินไปด้วยเช่นกัน  อนุมูลอิสระนั้นเกิดขึ้นได้จากทั้งปัจจัยภายนอก เช่น มลภาวะ แอลกอฮอล์ ควันบุหรี่ และอาหารบางชนิด โดยเฉพาะ อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ และ เกิดจากระบบเผาผลาญภายในร่างกายเอง แต่เมื่อใดที่ระบบสมดุลการจัดการกับอนุมูลอิสระนี้ทำงานได้ไม่ดีเต็มประสิทธิภาพเท่าเดิม หรือเกิด Oxidative Stress ก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้แล้ว ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับระบบประสาท หรือ โรคเบาหวาน เป็นต้น 

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รายงานว่าการที่เราจะสามารถมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงได้ จะต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นการงดสูบหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ  ฝึกเรียนรู้วิธีที่จะผ่อนคลายความเครียด และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เน้นอาหารจากพืช ที่มีสารพฤษเคมี มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  ที่ช่วยชะลอ

อาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน  

  • ผลไม้ตระกูลส้มและมะนาว   เป็นแหล่งของวิตามินซีที่ดี  เนื่องจากวิตามินซีสามารถที่จะช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนหนึ่งในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ
  • พริกหยวก เป็นอีกแหล่งที่วิตามินซีสูง ไม่แพ้ผลไม้อื่นๆ และที่สำคัญยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ เบต้าแคโรทีน  ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ช่วยบำรุงผิวและดวงตาให้มีสุขภาพดี
  • บล็อคโคลี่ เป็นผักที่มีวิตามินหลากชนิด ทั้ง A,C และ E ที่ล้วนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี  และยังมีใยอาหารสูง ซึ่งการบริโภคใยอาหารที่มากเพียงพอ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังได้
  • เห็ด มีสารเบต้ากลูแคน ที่มีความสามารถในการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
  • กระเทียม นอกจากฤทธิ์ที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้แล้ว สารอะลิซิน (Allicin) ในกระเทียมยังช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิค้มกันในร่างกาย 
  • ขิง สามารถช่วยลดภาวะการอักเสบในร่างกายได้ ซึ่งอาจทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
  • ผักใบเขียวเข้ม  จะมีวิตามินซีสูง พร้อมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดภาวะติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 
  • เมล็ดทานตะวัน หรือ ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ที่มีวิตามินอีสูง ที่ช่วยรักษาระบบภูมิคุ้มกันและช่วยต้านอนุมูลอิสระได้เป็นแย่างดี
  • ชาเขียว อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  รวมทั้ง EGCG ที่สามารถช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข้งแรง
  • ขมิ้น สมุนไพรอย่างขมิ้นที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์นี้ คุณสมบัติเด่นคือ มีสารเคอคูมินที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านการอักเสบในร่างกาย 
  • อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น เทมเป้ นัตโตะ มิโซะ กิมจิ เป็นต้น โพรไบโอติกส์ที่มีจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้นอกจากจะมีประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายและการย่อยแล้ว ยังสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้และทั้งระบบในร่างกาย


แหล่งอ้างอิง