Menu

เมนูอาหาร

เมนูสาขา รพ.จุฬา (ครัวชั่วคราว-นางลิ้นจี่)
และมหิดล ศาลายา

Menu book for the Chula Hospital branch (Temporary Cookery - Nanglingee)
and Mahidol Salaya branch

ทำไมลำไส้ถึงถูกเรียกว่าเป็นสมองส่วนที่สองของร่างกาย

ทราบไหมคะว่าสมอง มีหน้าที่ในการควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหว พฤติกรรม การรักษาสมดุลภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ อารมณ์ ความจำและความรู้สึกแต่มีอยู่อวัยวะหนึ่งที่มีความพิเศษต่างจากอวัยวะอื่นของร่างกาย นั่นคือ 'ลำไส้'

Gut Brain Axis

ทราบไหมคะว่าสมอง มีหน้าที่ในการควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหว พฤติกรรม การรักษาสมดุลภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ อารมณ์ ความจำและความรู้สึกแต่มีอยู่อวัยวะหนึ่งที่มีความพิเศษต่างจากอวัยวะอื่นของร่างกาย นั่นคือ ‘ลำไส้’

ความพิเศษของลำไส้นั่น คือ มันสามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเองและไม่ต้องรอให้สมองสั่งการว่าจะต้องทำอะไรและทำไมลำไส้ถึงมีฉายาว่า ‘สมองที่ 2 ของร่างกาย’

มารู้จักความสัมพันธ์ของทั้งสองกันค่ะ
(หรือชมคลิปย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/5IdERWaSH2)

ทำไมลำไส้ถึงเป็นสมองที่ 2 ของร่างกาย?

ระบบประสาทลำไส้ (enteric nervous system: ENS)
สามารถทำงานอย่างเป็นอิสระจากการสั่งการของสมอง

Gut-brain axis คืออะไร?

Gut-brain axis หมายถึงการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง ระบบประสาทลำไส้ (enteric nervous system: ENS) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system: CNS) ของระบบทางเดินอาหารและสมอง

นั่นหมายความว่าการติดต่อสื่อสารนี้เป็นการนำคำสั่งจากสมองไปยังทางเดินอาหารและระบบทางเดินอาหารก็สามารถสื่อสารกลับไปยังสมองได้เช่นเดียวกันซึ่งมีผลควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร เมแทบอลิซึม ความอยากอาหาร และความเครียด

ตัวอย่างเหตุการณ์ความสัมพันธ์ของสมองและลำไส้

เครียด > ปวดท้อง

กังวล หรือ ตกใจ > ท้องไส้ปั่นป่วน

ท้องผูก > อารมณ์แปรปรวนง่าย

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลำไส้ของเราอ่อนแอ ?

– ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ประสิทธิภาพการจัดการกับเชื้อก่อโรคที่ลำไส้ลดลง

– อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย

– เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้

– มีอาการผิดปกติ เช่น ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก

ตัวช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ Gut-brain axis

1. อาหารที่มีไฟเบอร์สูง พบได้ใน พืช ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้และเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้(พรีไบโอติกส์) ตัวอย่างอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกส์ : กล้วย กระเทียม ต้นหอม แก่นตะวัน ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์และหน่อไม้ฝรั่ง

2. อาหารที่อุดมไปด้วย Polyphenol พบได้ใน โกโก้ ชาเขียว เมล็ดกาแฟ น้ำมันมะกอกและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีส่วนช่วยในระบบภูมิคุ้มกันและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

3. อาหารหมักหรืออาหารที่เป็นแหล่งของโพรไบโอติกส์ เช่น กิมจิ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กะหล่ำปลีดอง เทมเป้สด มิโสะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย จุลินทรีย์ในลำไส้มีผลต่อสุขภาพของสมอง หากเรามีจุลินทรีย์ที่สมดุลภายในลำไส้ก็จะทำให้สุขภาพของสมองดีขึ้นช่วยในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่เดิมในลำไส้ทำให้จุลินทรีย์ที่ดีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและแบคทีเรียที่ไม่ดีหรือเชื้อก่อโรคมีจำนวนลดน้อยลงมีส่วนช่วยสร้างเกาะปกป้องเยื่อบุลำไส้ ส่งผลให้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้และช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยบรรเทาความผิดปกติต่างๆของร่างกายได้เช่น อาการลำไส้แปรปรวน ท้องผูก ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด เป็นต้น

Indrajitu Slot Indrajitu Slot Gacor https://rs.unpad.ac.id/ https://stp.unpad.ac.id/