Menu
เมนูอาหาร
เมนูสาขา รพ.จุฬา (ครัวชั่วคราว-นางลิ้นจี่)
และมหิดล ศาลายา
Menu book for the Chula Hospital branch (Temporary Cookery - Nanglingee)
and Mahidol Salaya branch
Menu
Menu book for the Chula Hospital branch (Temporary Cookery - Nanglingee)
and Mahidol Salaya branch
Delivery
083-239-6566
085-414-6966
“แคลเซียม” เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดยแคลเซียมมีหน้าที่ในการเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูก ช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด และแคลเซียมจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้นนะคะ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ แต่อาหารบางชนิดก็มีผลยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง! รวมถึงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตบางอย่างทั้ง การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวทำลายสุขภาพและกระดูกอีกด้วยนะคะ
หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ และมีการสูญเสียแคลเซียมในกระดูก ทำให้กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลง ส่งผลให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกเปราะ และกระดูกหักได้
อาหารที่มีแคลเซียมสูงสำหรับผู้ทานมังสวิรัติ ได้แก่ นมถั่วเหลือง เทมเป้ เต้าหู้ เมล็ดเจีย อัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ถั่วแระญี่ปุ่น งา และถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง นอกจากนี้แคลเซียมยังพบได้ในผักที่มีสีเขียวเข้มหลายชนิด เช่น บล็อคโคลี่ ผักโขม กระเจี๊ยบเขียว ใบยอ ใบชะพลู เป็นต้น การทานพืชเหล่านี้ นอกจากจะได้รับแคลเซียมแล้ว ยังมีโพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินอี อีกทั้งผักที่มีสีเขียวเข้ม ยังอุุดมไปด้วยวิตามิน K ซึ่งมีส่วนช่วยรักษาความแข็งแรงของกระดูก และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะกระดูกหัก (Fractures)
ชนิดอาหาร | ปริมาณ (กรัม) | ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) |
เทมเป้ | 100 | 111 |
นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม | 1 กล่อง/200 มล. | 200-240 |
เต้าหู้เหลือง | 100 | 76 |
ถั่วแระต้ม | 100 | 194 |
ใบยอ | 100 | 469 |
ใบชะพลู | 100 | 601 |
งาดำ | 1 ช้อนโต๊ะ | 132 |
ผักกระเฉด | 100 | 387 |
ผักคะน้า | 100 | 245 |
ถั่วลูกไก่ | 100 | 100 |
การทานอาหารที่มีแคลเซียม ควรเลือกทานให้หลากหลาย ซึ่งแนะนำให้ทานแคลเซียมไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อมื้อ หรือแบ่งทานเป็นมื้อเล็กหลาย ๆ มื้อ จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีกว่าการทานครั้งละมาก ๆ โดยการบริโภคแคลเซียมเพิ่ม ควรเป็นการบริโภคเพิ่มจากอาหารเป็นหลัก ไม่แนะนำให้บริโภคในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยกเว้นอยู่ในความดูแลของแพทย์ (การรับประทานแคลเซียมเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียมเสริมชนิดแคลเซียมคาร์บอเนต อาจเกิดอาการท้องผูกได้จึงแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ หรืออย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน)
อ้างอิง