Menu

เมนูอาหาร

เมนูสาขา รพ.จุฬา (ครัวชั่วคราว-นางลิ้นจี่)
และมหิดล ศาลายา

Menu book for the Chula Hospital branch (Temporary Cookery - Nanglingee)
and Mahidol Salaya branch

7 อาหารช่วยลดไมเกรน

อาการไมเกรน เป็นอาการไม่พึงประสงค์ของใครหลายคน ทั้งอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือ อาการคลื่นไส้  โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการไมเกรนขึ้น ได้แก่ ฮอร์โมนเปลี่ยน ตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ หรือ แสงสว่างจ้ามากเกินไป การนอนหลับพักผ่อนที่น้อยเกินไป ภาวะเครียดสูง หรือ อาหารบางประเภท แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน 

อาการไมเกรน เป็นอาการไม่พึงประสงค์ของใครหลายคน ทั้งอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือ อาการคลื่นไส้  โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการไมเกรนขึ้น ได้แก่ ฮอร์โมนเปลี่ยน ตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ หรือ แสงสว่างจ้ามากเกินไป การนอนหลับพักผ่อนที่น้อยเกินไป ภาวะเครียดสูง หรือ อาหารบางประเภท แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน 

การให้ความสนใจกับการเลือกอาหารที่เรารับประทานกันให้เหมาะสมมากขึ้นอาจสามารถช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ 

การรับประทานให้เน้นอาหารธรรมชาติ แปรรูปน้อย ไม่ใส่สารปรุงแต่ง และไม่แต่งสีแต่งกลิ่น   และมีงานวิจัย Journal of Headache and Pain พบว่าการกินอาหารมังสวิรัติ อาหารวีแกน ปราศจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เน้นอาหารจากพืชเป็นหลัก สามารถช่วยลดอาการในผู้ป่วยไมเกรนได้ 

อาหารที่แนะนำเพื่อลดไมเกรน 

แนะนำให้เน้นเลือกอาหารที่มีวิตามินแร่ธาตุสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ และ สารต่อต้านการอักเสบ 

  • ผัก สีส้ม เหลือง และเขียว เช่น พริกหยวก แครอท ฟักทอง มันหวาน ผักใบเขียวเข้มต่างๆ  (เน้นให้ทำให้สุกแล้วก่อนรับประทาน)
  • อาหารที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมสูง เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียวเข้ม และเมล็ดธัญพืช อย่างเมล็ดฟักทอง เป็นต้น
  • เลือกรับประทานข้าวกล้องไม่ขัดสี ควินัว 
  • ผลไม้ เช่น เชอร์รี่ และ แครนเบอร์รี่
  • เห็ด มีวิตามิน B2 ที่พบว่าสามารถช่วยลดความถี่ในการเกิดอาการไมเกรน
  • สมุนไพรและเครื่องเทศ  เช่น ขิง ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มากให้เพียงพอ  อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดอาการขาดน้ำซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ และช่นเดียวกับการรับประทานอาหารควรเลือกรับประทานอาหารธรรมชาติที่ดีในปริมาณที่เพียงพอ สามารถช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่อาจทำให้เกิดอาการไมเกรนได้ 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงที่อาจส่งผลต่อการเกิดไมเกรน (ต่างกันไปในแต่ละบุคคล)

  • หลีกเลี่ยงผงชูรส และ เครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูง เช่น นำ้ปลา 
  • สารให้ความหวาน เช่น แอสปาแตม 
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ 
  • ลดปริมาณการดื่มคาเฟอีนไม่ให้มากเกินไป
  • อาหารอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการเกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น นมวัว ชีส ช็อกโกแลต และไข่ เป็นต้น
  • ผลไม้ตระกูลส้มมะนาว 
  • เนื้อสัตว์ และเนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ

อย่างไรก็ตามอาหารที่สามารถบรรเทาหรือกระตุ้นการเกิดไมเกรนอาจแตกต่างกันได้ตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้ลองจดบันทึกอาหารที่รับประทาน หรือทำ Food dairy พร้อมอาการที่เกิดขึ้นในวันนั้นๆ เพื่อให้เราสามารถทราบได้ว่า อาหารประเภทใดที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับสภาพร่างกายของเรา